วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี

สุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก

ตั้งอยู่ริมถนนแสงชูโต (ทางหลวงหมายเลข 323) ก่อนจะเข้าตัวเมือง สุสานแห่งนี้เป็นสุสานของเชลยศึกสัมพันธมิตรที่เสียชีวิตในระหว่างการสร้าง ทางรถไฟสายมรณะ

พิพิธภัณฑ์ทางรถไฟไทย พม่า

ตั้งอยู่ใกล้กับสุสานทหารสัมพันธมิตรดอนรัก จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางรถไฟสายไทย-พม่า เริ่มตั้งแต่การเข้ามาของญี่ปุ่น การออกแบบและการสร้างทางรถไฟ สภาพภูมิศาสตร์ของทางรถไฟ สภาพชีวิตในค่ายเชลยศึก ด้านการแพทย์

ประตูเมือง

ตั้งอยู่กลางเมืองกาญจนบุรี สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2374 ซึ่งพระองค์ได้ทรงย้ายมาจากเมืองกาญจนบุรีเก่า ตำบลลาดหญ้า มาอยู่ในที่ปัจจุบัน

สะพานข้ามแม่น้ำแคว

ตั้งอยู่ที่ตำบลท่ามะขาม ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 323 ประมาณ 4 กิโลเมตร แยกซ้ายประมาณ 400 เมตร มีป้ายชี้บอกทางไว้ชัดเจน

สุสานทหารสัมพันธมิตรช่องไก่

เคยเป็นที่ตั้งของค่ายเชลยศึกขนาดใหญ่ มีขนาดเล็กกว่าสุสานดอนรัก บรรจุศพทหารเชลยศึกซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารอังกฤษ ประมาณ 1,740 หลุม

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมจังหวัดกาญจนบุรี


งานสงกรานต์บ้านหนองขาว

วัดอินทาราม ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
กิจกรรม ขบวนเกวียนนางสงกรานต์จากหมู่บ้านต่าง ๆ การแสดงวัฒนธรรมบันเทิงต่างๆ การสาธิตการละเล่นพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายอาหารพื้นเมือง การแสดงประกอบแสง-เสียง เรื่อง “ไอ้บุญทอง บ้านหนองขาว” และการละเล่นน้ำสงกรานต์


งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว

ชมเมืองจำลอง “แคว้นโบราณ...กาญจนบุรี” แสดงประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตชาวกาญจนบุรี จัดบริเวณทางเข้างานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว การแสดงแสง เสียง ชุด “สะพานข้ามแม่น้ำแคว ทางรถไฟสายมรณะ ” ณ บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว การออกร้านจำหน่ายสินค้าชุมชน และสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลจังหวัดกาญจนบุรี

กาญจนบุรีคือดินแดนแห่งธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ด้วยผืนป่า พรรณไม้ โถงถ้ำ น้ำตก และประเพณีวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนหลากเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกัน อย่างเอื้ออารี ทั้งไทย พม่า มอญ ปากะญอ (กะเหรี่ยง) ฯลฯ

ยิ่งไป กว่านั้น กาญจนบุรียังเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีอนุสรณสถานหลายแห่งปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐาน เช่น สะพานข้ามแม่น้ำแคว สุสานทหารสัมพันธมิตร พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด ฯลฯ

ด้วยความหลากหลายของพื้นที่และเรื่องราวที่สั่งสมอยู่ในจังหวัดชายแดนตะวัน ตกแห่งนี้ กาญจนบุรีจึงเป็นจุดหมายปลายทางที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวทุกสไตล์ ทุกวัย และทุกฤดูกาล

จังหวัดกาญจนบุรีมีเนื้อที่ประมาณ 12 ล้านไร่ หรือ 19,483 ตารางกิโลเมตร ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและเทือกเขาสูง โดยมีแม่น้ำสายหลัก 2 สาย คือ แม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ที่ไหลขนานลงมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลองที่ตัวเมืองกาญจนบุรี

ความ เป็นมาของกาญจนบุรีเท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองฯ ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม สมัยบายน

ความเป็นมาของกาญจนบุรียังปรากฏใน พงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญจนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตน โกสินทร์

ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล กาญจนบุรีถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลราชบุรี และยกฐานะเป็นจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2467

เหตุการณ์ที่ทำให้กาญจนบุรีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นตัดสินใจสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ จากชุมทางหนองปลาดุกในประเทศไทย ไปยังเมืองทันบีอูซายัตในพม่า โดยเกณฑ์เชลยศึกและแรงงานจำนวนมากมาเร่งสร้างทางรถไฟอย่างหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งจากความเป็นอยู่ที่ยากแค้นและโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้า ซึ่งภาพและเรื่องราวของความโหดร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในกาญจนบุรี

จังหวัดกาญจนบุรีแบ่งเขต การปกครองออกเป็น 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาญจนบุรี อำเภอบ่อพลอย อำเภอเลาขวัญ อำเภอพนมทวน อำเภอไทรโยค อำเภอสังขละบุรี อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง อำเภอทองผาภูมิ อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอหนองปรือ และอำเภอห้วยกระเจา